วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สารอันตราย




พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. สนธิกำลังสาธารณสุข จ.เชียงราย เข้าค้นพื้นที่เป้าหมายที่คาดเป็นแหล่งเก็บสาร “ไซบูทรามีน” ต้นตอผลิตยาลดความอ้วนมรณะ ภายในตึกแถวข้างตลาดสดบุญยืน ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พร้อมพื้นที่อื่นรวม 12 จุด ยึดสารเคมีสีขาวที่คาดว่าเป็นสารอันตรายนำไปตรวจสอบ
ที่มา .www.thairath.co.th


วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ค่า SPF และ PA ในสารกันแดดคืออะไร?




“แดดเมืองไทยนี่มันช่างทำร้ายกันเสียเหลือเกิน ไหนจะต้องใส่แขนยาวทั้งที่อากาศก็ร้อน ไหนจะต้องใส่หมวกถือร่มอีก แล้ววันนี้จะไปเลือกซื้อครีมกันแดดด้วย แต่ค่า SPF กับ PA ที่โฆษณาคืออะไรนะ? ต้องใช้ที่มีค่าสูง ๆ ไว้ก่อนถึงจะดีหรือเปล่า? ” วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

   ฉลากบนผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนมากจะระบุค่า SPF กับ PA ไว้หลากหลายแบบ เพื่อให้เราเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ โดย SPF หรือ Sun Protection Factor เป็นค่าการป้องกัน UVB ที่บอกให้ทราบว่า เราจะอยู่กลางแสงแดดได้นานเท่าใดโดยที่ผิวของเราไม่ไหม้ หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ เช่น ถ้าเราอยู่กลางแสงแดด 10 นาที แล้วผิวของเราเริ่มแดงไหม้ นั่นคือผิวเราทนได้แค่ 10 นาที หากทากันแดดที่มี SPF15 ผิวเราจะทนแดดได้นาน 10x15 = 150 นาที หรือประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยที่ผิวไม่แดงไหม้นั่นเอง และหากจะเทียบค่า SPF กับปริมาณการดูดซับรังสี UVB พบว่า

ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
   จะเห็นว่า ค่า SPF ที่สูงมาก ๆ นั้นก็ไม่จำเป็นต่อความต้องการของเรา ไม่ว่าจะใช้ SPF30 หรือ SPF100 ก็ให้ผลแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไรแล้ว เมื่อสารกันแดดสัมผัสเหงื่อ น้ำ แสงแดด ฯลฯ สารกันแดดก็จะเสื่อมประสิทธิภาพลงทำให้เราต้องทาซ้ำ แถมยังต้องเสี่ยงกับอาการแพ้และความเหนอะหนะจากสารกันแดดที่มีค่า SPF สูงมาก ๆ อีกด้วย

   มาทำความรู้จักกันต่อกับค่า PA หรือ Protection grade of UVA เป็นค่าการป้องกัน UVA ริเริ่มโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 โดยมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA เริ่มต้น
PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA กลาง
PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
PA++++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด



ภาพจาก: https://www.facebook.com/notes/1611878672358933

   นอกจากค่า SPF กับ PA แล้ว ต้องคำนึงถึงกิจกรรมที่เราจะทำด้วย ถ้าจะออกไปเล่นน้ำทะเลหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเลือกสารกันแดดแบบ Waterproof ที่จะรักษาค่า SPF ไว้ให้คงประสิทธิภาพเดิมหลังโดนน้ำไป 80 นาที หากว่าเราแค่โดนฝนหรือเหงื่อออกตามปกตินั้น ให้เลือกสารกันแดดแบบ Water-resistant ที่จะรักษาค่า SPF ไว้ให้คงประสิทธิภาพเดิมหลังโดนน้ำไป 40 นาที และที่กล่าวมานี้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ฉลากบนบรรจุภัณฑ์สารกันแดดบอกให้ผู้ใช้ทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง

   จากข้อมูลทั้งหมด หลาย ๆ คนคงตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี การเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดควรเลือกให้เหมาะสมกับความจำเป็น สภาพผิว รวมถึงสภาพอากาศและกิจกรรมที่เราจะทำด้วย เพื่อประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อความจำเป็นทั้งตัวคุณและกระเป๋าเงินของคุณด้วยนั่นเองค่ะ

ที่มา: http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/research/pfWed125811.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Sunscreen
เรียบเรียงโดย: ณัฐสุดา จันทร์พฤกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.nsm.or.th

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

5G คืออะไร??

   

     ในกระแสโลกปัจจุบันนี้เราก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการสื่อสาร ระบบเครือข่าย รวมทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น ยุคนี้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้แทบทุกคน เทคโนโลยีการเชื่อมต่อในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมคือ 4G และอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นคือ 5G แล้วเทคโนโลยี 5G คืออะไร?
     ก่อนที่จะไปรู้จักเทคโนโลยี 5G เรามาทำความรู้จักเทคโนโลยีตั้งแต่ 1G จนถึง 4G กันก่อนว่ามีอะไรบ้างและขอบเขตในการใช้งานเป็นอย่างไร
          - 1G ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยได้ยินกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้ากล่าวถึง โทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่เหมือนกระติกน้ำ ก็คงพอจะได้คุ้นหูคุ้นตากันบ้าง ด้วย เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้เราได้ยินเสียงและสนทนาในระยะไกลได้
          - 2G สำหรับยุคนี้ นอกจากเราจะสามารถสนทนากันด้วยเสียงได้แล้ว เรายังสามารถส่งข้อความสั้นๆ หากัน หรือที่เรียกกันว่า SMS ที่เพิ่มมาจากยุค1G
          - 3G ยุคนี้เทคโนโลยีก็มีการพัฒนาจนทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ใช้งานเว็บไซต์ ดูวีดีโอสตรีมมิ่งได้แล้ว แต่มีความเร็วไม่มากนัก
          - 4G ยุคนี้ถือเป็นยุคที่คนใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างจริงจัง ทั้งในการทำงานและการดำรงชีวิต เราติดตามข่าวสารกันบนโลกออนไลน์ ดูหนังฟังเพลง ทำธุรกรรมทางการเงิน ซื้อสินค้าออนไลน์ และอื่นๆ
     แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี 4G ก็อาจช้าเกินไปสำหรับอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่างของเทคโนโลยีเองจึงทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G ขึ้นมา โดยเทคโนโลยีนี้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 20 เท่า โดยประมาณ (4G = มีความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 1Gbps ส่วน 5G อยู่ที่ประมาณ 20 Gbps) รองรับการเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง หรือ IOT (Internet of Things) รวมถึงความเร็วในการตอบสนอง (Response Time) จากเดิม 4G ใช้เวลาอยู่ที่ 40ms แต่ 5G จะเหลือเพียง 1ms เท่านั้น หากจะพูดถึงการดาวน์โหลดหนัง 1 เรื่อง ใช้ 4G ดาวน์โหลดอาจใช้เวลาประมาณ 6 นาที แต่ถ้าใช้ 5G โหลดหนังทั้งเรื่องก็อาจจะเหลือเพียง 17-18 วินาที เท่านั้น
     แล้วเทคโนโลยี 5G ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร? แน่นอนว่าประสิทธิภาพของเทคโนโลยี 5G มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัปโหลดข้อมูลมากกว่า 4G ทำให้การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ท่องโลกอินเทอร์เน็ต ไม่มีสะดุด แม้แต่วีดีโอที่มีความละเอียดสูงๆ หรือเป็นอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานร่วมกันกับ 5G รวมถึงเรื่องของรถยนต์ไร้คนขับ (Self-Driving Car) นี่ยังไม่พูดถึง Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ถ้าเราดูหนังหรือเล่นเกมผ่านอุปกรณ์ VR แล้วใช้ 5G เราก็จะได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่าในเรื่อง ความรวดเร็ว ไม่มีการหน่วงเวลา

แหล่งข้อมูลค้นคว้าและภาพจาก: https://www.marketingoops.com/reports/understand-what-is-5g/
แหล่งอ้างอิง http://www.nsm.or.th

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ทั่วไปจริงหรือ

วันงดสูบบุหรี่โลกตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลกเล็งเห็นถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียงที่จะได้รับควันบุหรี่จากคนที่สูบทางอ้อม ก่อให้เกิดโรคร้ายเหมือนสูบบุหรี่เองโดยตรงได้อีกด้วย ปกติแล้วเราคงคุ้นเคยกับบุหรี่ธรรมดากันมานานมากแล้ว แต่ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ด้วยกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัวเช่น น้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ


     บุหรี่ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้แบตเตอรี่ในการทำงานเพื่อสร้างความร้อนและไอน้ำ ประกอบด้วยสารต่าง ๆ เช่น นิโคติน (Nicotine) โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) กลีเซอรีน (Glycerine) สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) และน้ำ เมื่อเปิดเครื่องจะมีไฟสีแดงขึ้นพร้อมกับการทำงานของแบตเตอรี่ เกิดความร้อน ทำให้น้ำยาที่บรรจุอยู่ภายในระเหยขึ้นมาเป็นควัน เมื่อสูบเข้าไปในปอดร่างกายจะได้รับนิโคตินก่อนที่จะถูกพ่นออกมา สารเคมีชนิดต่างๆ ที่พบในน้ำยาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น นิโคติน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เมื่อสัมผัสหรือสูดดม สารโพรไพลีนไกลคอลและกลีเซอรีน เข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง นอกจากนี้ ยังพบสารพิษอีกมากมายในไอของบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และกลุ่มเบนซีน (Benzene) เป็นต้น

     แม้ว่าสารพิษที่พบในไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าจะมีน้อยกว่าในควันบุหรี่ธรรมดาทั่วไป แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังคงมีสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดการเสพติดได้เหมือนกับบุหรี่ธรรมดาทั่วไปเช่นกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และการมีสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง เราจึงควรงดสูบบุหรี่ทุกประเภท เพราะนอกจากจะช่วยลดโรคร้ายที่เกิดจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังช่วยให้คนรอบข้างและบุคคลที่คุณรักปลอดภัยจากพิษภัยของบุหรี่อีกด้วย




คำค้น : บุหรี่ไฟฟ้า, นิโคติน, วันงดสูบบุหรี่โลก
ผู้เขียน : นายชนินทร์ สาริกภูติ
บรรณาธิการ (วิชาการ) : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง
แหล่งอ้างอิง http://www.nsm.or.th

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Pat2

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ



ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ


ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ



o-net59

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ในภาพอาจจะมี 1 คน
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

2.7 การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

มนุษย์นำธาตุุมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่อดีตกาลเช่นนำทองคำมาทำเป็นเครื่องประดับ นำเหล็กมาทำเป็นมีน้ำทองใดมาทำเป็นภาชนะหรือเครื่องใช้ ในปัจจุบันมีการค้นพบและศึกษาสมบัติของธาตุมากขึ้นจึงมีการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น 
ประโยชน์ของธาตุ
                     การจำแนกธาตุออกเป็นกลุ่มนอกจากจะช่วยให้ง่ายต่อการศึกษาสมบัติของธาตุแล้วยังง่ายต่อการพิจารณาสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้งานอีกด้วย
-ธาตุโลหะ มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีจึงนิยมนำมาเป็นอุปกรณ์นำไฟฟ้าเช่นนำทองแดงมาทำสายไฟน้ำสังกะสีมาทำขั้วไฟฟ้าของถ่านไฟฉาย 
-ธาตุกึ่งโลหะ เช่นซิลิกอน เจอร์เมเนียม มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับโลหะ นำไฟฟ้าได้แต่นำไม่ดีนิยมนำมาทำเป็นสารกึ่งตัวนำ
-ธาตุหมู่ 18 เป็นธาตุที่เฉยต่อการเกิดปฏิกิริยาจึงนำมาใช้ประโยชน์ตามสมบัติของแก๊สมีสกุลเช่นนำ-ฮีเลียมซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศมาบรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนแก๊สไฮโดรเจน
-ธาตุมีไอโซโทปกัมมันตรังสี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 2.6.6 และธาตุุที่อยู่กลุ่มเดียวกันจะมีสมบัติคล้ายกันแต่ถ้าชุดชนิดยังมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วยดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์จึงมีความจำเพาะแตกต่างกันการที่ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันทำให้บางครั้งนักวิทยาศาสตร์ต้องนำธาตุมากกว่า ชนิดมาละลายหรือผสมกันเพื่อให้มีสมบัติตามที่ต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น 
ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
                     จากความรู้เดิมโครงสร้างมาแล้วว่าธาตุบางชนิดส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเช่นตะกั่วได้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเช่นถ้าตะกั่วปนเปื้อนในน้ำอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบพันธ์ระบบโลหิตและระบบประสาทของสัตว์ในแหล่งน้ำนั้นได้

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ


-แอมโมเนียมคลอไรต์ และ ซิงค์คลอไรต์ เป็นสารประกอบไอออนิก ที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแยกตัวเป็นไอออนเมื่อละลานน้ำ  จึงนำไปใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในถ่านไฟฉาย


-พอลิไวนิลคลอไรต์หรือพีวีซี เป็นสารโคเวเลนต์ ที่ไม่นำไฟฟ้า
จึงนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าได้

3.4 พันธะโลหะ

โลหะเป็นธาตุที่มีอิเล็กตรอนระดับนอกจำนวนน้อย และมีพลังงานการแตกตัวเป็นไอออนต่ำ มีจุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี สามารถทุบให้เป็นแผ่นบางหรือดึงให้เป็นเส้นได้ โลหะมีเงาและทึบแสง สมบัติเหล่านี้แสดงว่าอะตอมโลหะไม่ได้ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก หรือพันธะโคเวเลนต์ หรือแรงแวนเดอร์วาล เหตุผลเพราะว่าสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ ไม่นำไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีอิเล็กตรอนที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ และจะทำให้เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นก็ไม่ได้ เพราะพันธะโคเวเลนต์มีทิศทางเฉพาะย่อมขัดขืนต่อการเปลี่ยนรูป พันธะไอออนิกก็เช่นกัน แม้เป็นพันธะที่ไม่มีทิศทาง ถ้าใช้แรงทุบตีให้เป็นแผ่นก็จะแตกหักออกจากกัน ส่วนแรงแวนเดอร์วาลเป็นแรงที่อ่อนมากแต่โลหะเป็นวัสดุที่แข็งแรงย่อมมีแรงระหว่างอนุภาคสูงมากกว่าแรงแวนเดอร์วาล
           จากสมบัติของโลหะดังกล่าวแสดงว่าโลหะมีพันธะที่เป็นแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกที่อยู่เรียงชิดติดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบ คล้ายทะเลอิเล็กตรอนที่เคลื่อนไหลอยู่รอบ ๆ ไอออนบวกจึงเป็นเหตุทำให้โลหะนำไฟฟ้าได้ดี ตีให้เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นได้ โดยไม่แตกหักดังภาพ
136
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (Intermolecular Forces)

          แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล นอกจากอยู่ในรูปของพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์แล้วยังมีแรงยึดเหนี่ยวที่สำคัญระหว่างอะตอมและระหว่างโมเลกุล คือ แรงแวนเดอร์วาล (van der waal forces) และพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) แรงดึงดูดทั้งสองนี้เป็นแรงที่อ่อนกว่าแรงจากพันธะไอออนิกและโคเวเลนต์  แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลนี้มีความสำคัญและสามารถใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของสารและสมบัติทางกายภาพ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว  แรงแวนเดอร์วาลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อจำนวนอิเล็กตรอนและมวลโมเลกุลเพิ่ม แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีหลายประเภทดังนี้
 แรงแวนเดอร์วาล (van der waal forces)
          เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วซึ่งเป็นผลมาจากการมีสภาพขั้วขณะหนึ่ง  ซึ่งภายในอะตอมหรือโมเลกุลมีกลุ่มอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตลอดเวลา ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสเปลี่ยนแปลงได้ทำให้ชั่วขณะหนึ่ง มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนไม่สม่ำเสมอ  เป็นผลทำให้เกิดลักษณะขั้วบวกลบ (สองขั้ว) ขึ้นมาชั่วขณะ นั่นคือ ศูนย์กลางของประจุบวกเคลื่อนที่ไปอยู่คนละที่กับศูนย์กลางของประจุลบ  โมเลกุลเหล่านี้จะเหนี่ยวนำโมเลกุลที่อยู่ข้างเคียงให้กลายเป็นโมเลกุลที่มีขั้วขึ้นมาด้วย และมีแรงดึงดูดกันแม้เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดบ่อยครั้ง แรงดึงดูดจึงมีอยู่ตลอดไป นอกจากนี้ขนาดและรูปร่างโมเลกุลก็มีส่วนสำคัญ โมเลกุลขนาดใหญ่และมีรูปร่างยาวจะอยู่ในสภาพมีขั้วง่ายกว่าโมเลกุลที่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างเป็นก้อนกลม
แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (dipole-dipole interaction)
          แรงนี้เกิดจากโมเลกุลที่มีขั้ว เช่น CO, NO, SO2 เมื่อโมเลกุลเหล่านี้เข้ามาใกล้กัน ขั้วบวก (137)   ของโมเลกุลจะหันเข้าหาด้านขั้วลบ (138)   ของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทำให้เกิดแรงดึงดูดขึ้น ซึ่งเป็นแรงดึงดูดที่อ่อน มีความแรงประมาณ 1% ของพันธะไอออนิกหรือพันธะโคเวเลนต์เท่านั้น แรงดึงดูดประเภทนี้ทำให้โมเลกุลที่มีสภาพขั้ว มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงกว่าโมเลกุลที่ไม่มีสภาพขั้ว  เมื่อมีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
          พันธะไฮโดรเจน  (Hydrogen bond)
            พันธะไฮโดรเจน เป็นพันธะที่เกิดกับโมเลกุลที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน (H) สร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง ซึ่งสามารถดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ในพันธะได้ดี ความหนาแน่นอิเล็กตรอนจะไปเข้มข้นอยู่ทางด้านของอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง ทำให้อะตอมไฮโดรเจนมีสภาพไฟฟ้าเป็นบวกมาก จนเกือบกลายเป็นไฮโดรเจนไอออน อะตอมไฮโดรเจนจึงสามารถดึงดูดอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูงของโมเลกุลข้างเคียง เกิดเป็นพันธะขึ้น ซึ่งพันธะนี้ทำหน้าที่คล้ายสะพานเชื่อมระหว่างสองอะตอมของสองโมเลกุลนั้น พันธะไฮโดรเจนจัดเป็นแรงระหว่างโมเลกุลที่เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอย่างอ่อนกว่าพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์แต่แรงกว่าแรงแวนเดอร์วาล และเป็นพันธะที่ยาวกว่าพันธะโคเวเลนต์ เราใช้ขีด —- และ …. แทนพันธะไฮโดรเจน ตัวอย่าง
            สารประกอบที่มีพันธะไฮโดรเจนได้แก่ HCl, H2O, HF  ฟลูออรีนเป็นธาตุที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูงที่สุด  ดังนั้นพันธะ  H – F ในไฮโดรเจนฟลูออไรด์จึงเป็นพันธะที่อยู่ในสภาพมีขั้วมาก จึงเกิดแรงดึงดูดระหว่างฟลูออรีนกับไฮโดรเจนของอีกโมเลกุลหนึ่ง เกิดเป็นพันธะไฮโดรเจน ดังนี้
139
           โมเลกุลของน้ำ  (H2O)    เกิดพันธะไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากออกซิเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ เช่น140  และออกซิเจนเป็นธาตุที่มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนในพันธะได้ดี จึงมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบ ๆ อะตอมออกซิเจนสูง ในขณะที่ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบอะตอมไฮโดรเจนมีเบาบางจึงเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำได้ดี
ตัวอย่างของการเกิดพันธะไฮโดรเจน
141
          พันธะไฮโดรเจนมีอิทธิพลต่อสมบัติของสาร เช่น ทำให้สารมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น  H2S  มีมวลโมเลกุล  34  มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเดือด – 60 องศาเซลเซียส ในขณะที่ H2O   ซึ่งมีมวล 18  แต่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของพันธะไฮโดรเจนในโมเลกุลของน้ำ นอกจากนี้  พันธะไฮโดรเจนยังมีบทบาทมากในลักษณะโครงสร้างของโปรตีน DNA  และ RNA ซึ่งเป็นโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต
เลขออกซิเดชัน  (Oxidation number)
          เลขออกซิเดชัน หมายถึง ตัวเลขที่แสดงจำนวนอิเล็กตรอนในระดับนอกของธาตุที่ใช้ในการสร้างพันธะเคมี เวลาเขียนจะแสดงเครื่องหมายบวกหรือลบกำกับไว้  สำหรับสารประกอบไอออนิก เลขออกซิเดชันของธาตุที่ให้อิเล็กตรอนจะมีเครื่องหมายเป็นบวก และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้ไป ส่วนธาตุที่รับอิเล็กตรอนเลขออกซิเดชันจะมีเครื่องหมายเป็นลบ และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่รับมา ตัวอย่างเช่น
NaCl   จะได้ว่า                     Na   มีเลขออกซิเดชันเป็น   +1
Cl    มีเลขออกซิเดชันเป็น    -1
CaCl2   จะได้ว่า                    Ca   มีเลขออกซิเดชันเป็น   +2
Cl    มีเลขออกซิเดชันเป็น    -1
          สำหรับสารประกอบโคเวเลนต์ที่พันธะประกอบด้วยธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูงกับธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำ ธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูงสามารถดึงอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในพันธะได้ดีกว่า จะมีเลขออกซิเดชันเป็นลบ และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ดึงเข้ามา ส่วนธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำกว่า จะมีเลขออกซิเดชันเป็นบวก และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ถูกดึงไป
ตัวอย่างที่ 1   H2O
O มีเลขออกซิเดชัน   =    –  2
H มีเลขออกซิเดชัน   =    + 1
          สำหรับธาตุหรือสารประกอบโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้เท่ากันจะมีเลขออกซิเดชันเป็นศูนย์ เช่น O2,  F2,  O3,  S8,  Cu,  Fe
ข้อควรจำ ผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสารหนึ่งโมเลกุลมีค่าเป็นศูนย์ และผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในไอออนที่มีหลายอะตอมมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น (การคิดเลขออกซิเดชันจะคิดต่อ 1 อะตอมของแต่ละธาตุ)

ตัวอย่างที่ 2    CH3Cl
C    มีเลขออกซิเดชัน   = – 2
Cl   มีเลขออกซิเดชัน   = – 1
H    มีเลขออกซิเดชัน   = + 1  (มี 3 อะตอม จะมีค่า  = +3)
ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ  CH3Cl  =   0
ตัวอย่างที่ 3     MnO4
         เนื่องจากในการสร้างพันธะเคมีของ O จะใช้ 2 อิเล็กตรอน ดังนั้น O 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน  – 2 ดังนั้นในไอออน  MnO4   จะได้ว่า  O ทั้งหมด 4 อะตอมมีเลขออกซิเดชันรวม  =   – 8
Mn   จะมีเลขออกซิเดชัน คือ    =    + 7
         การหาเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบพิจารณาง่าย ๆ ดังตัวอย่าง
H2SO4          H 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน   =  +1
H 2 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน   =  +2
O 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน   =  -2
O 4 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน   =  -8
         ดังนั้น  S  1 อะตอมจะมีเลขออกซิเดชัน  =  8 – 2  =  6   แต่ผลรวมของเลขออกซิเดชันของธาตุทุกอะตอมใน 1 โมเลกุลของสารมีค่า 0 ดังนั้น  S   มีเลขออกซิเดชัน   =    + 6
สารประกอบ และสมบัติของสารประกอบ
  1.   การเกิดสารประกอบ
         สารประกอบ คือ สารที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป โดยเกิดการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต (ให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดครบแปด) นั่นคือ สารประกอบเกิดจากพันธะเคมีซึ่งอาจเกิดจากพันธะไอออนิก หรือ พันธะโคเวเลนต์ก็ได้
         สมบัติของสารประกอบไอออนิก
  1. มีขั้ว สารประกอบไอออนิกไม่เกิดเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่เป็นของแข็งประกอบด้วยไอออนจำนวนมากยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
  2. นำไฟฟ้าได้ เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้ และสารประกอบไอออนิกที่หลอมเหลวก็นำไฟฟ้าได้ เพราะเมื่อหลอมเหลวไอออนจะแยกกันเป็นอิสระ
  3. มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เพราะสารประกอบไอออนิกต้องใช้พลังงานมากในการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออน เพื่อจะให้กลายเป็นของเหลว หรือกลายเป็นไอ
  4. การละลาย สารประกอบไอออนิกละลายได้ในน้ำหรือละลายในตัวทำละลายที่มีสภาพขั้วสูงมาก
  5.   การเกิดปฏิกิริยาไอออนิก เป็นปฏิกิริยาระหว่างไอออน เพราะสารประกอบไอออนิกเมื่อเป็นสารละลาย ไอออนเป็นอิสระ จึงเกิดปฏิกิริยาทันที
  6. สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนประจุตรงกันข้าม รอบ ๆ ไอออน จะมีสนามไฟฟ้าจึงไม่แสดงทิศทางพันธะไอออนิก
สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
  1. แรงดึงดูดภายในโมเลกุลมีน้อยทำให้มีสถานะเป็นแก๊ส ของเหลว และเป็นของแข็งที่อ่อนนุ่มที่อุณหภูมิปกติ
  2. ไม่ละลายน้ำ
  3. มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เพราะใช้พลังงานน้อยในการทำลายแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล
  4. ไม่นำไฟฟ้า
  5. ละลายในเบนซีน และสารอินทรีย์หรือตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว
        เนื่องจากสารประกอบมีอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ในการเขียนสูตร และการเรียกชื่อสารประกอบ เพื่อให้สะดวกแก่การจดจำ และง่ายต่อการเรียนการสอน ทั้งจะได้มีแบบแผนหลักเกณฑ์ที่เหมือนกัน จึงมีหลักดังนี้
การเขียนสูตรสารประกอบ
          สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุ หรือหมู่ธาตุ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของไอออน หรืออะตอมก็ได้ ในการเขียนสูตรจึงมีกฎเกณฑ์ดังนี้
  1. โลหะ กับอโลหะ ให้เขียนสัญลักษณ์โลหะก่อน แล้วเขียนอโลหะตามหลัง เช่น
K          +         Cl     142      KCl
Ba        +          O     142      Ba
  1. ถ้าเป็นไอออน กับไอออน ต้องเขียนไอออนบวกก่อน แล้วตามด้วยไอออนลบ เช่น
NH+    กับ  SO   เขียนได้เป็น     ( NH4)2SO4
การเรียกชื่อสารประกอบ
        การเรียกชื่อสารประกอบใช้หลักการตามระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งมีข้อตกลงดังนี้
  1. สารประกอบระหว่างโลหะกับอโลหะ ให้เรียกชื่อโลหะธาตุแรก หรือไอออนบวก เต็ม ๆ แล้วตามด้วยอโลหะ หรือไอออนลบ  แล้วเปลี่ยนท้ายเสียงเป็นไอด์ (ide) เช่น
Na (Sodium) กับ Cl (Chlorine)     เขียนสูตร     NaCl     อ่านเป็น        Sodium chloride
Ba (Barium) กับ S (Sulfur)           เขียนสูตร     BaS     อ่านเป็น          Barium sulfide
K (Potassium) กับ I (Iodine)         เขียนสูตร     KI        อ่านเป็น        Potassium iodide
บางธาตุมีการตัด / เติม พยางค์ท้ายก่อนเปลี่ยนท้ายเสียงเป็นไอด์ เช่น
H (Hydrogen)                     เป็น        Hydride
N (Nitrogen)                       เป็น        Nitride
O (Oxygen)                          เป็น        Oxide
P (Phosphorus)                  เป็น        Phosphide
2. สารประกอบระหว่างอโลหะ กับอโลหะ สารประกอบชนิดนี้แม้จะมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่บางทีมีสารได้มากกว่า 1 สาร เช่น SO2 กับ SO หรือ  CO กับ CO การเรียกชื่อต้องบอกจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุ เป็นภาษากรีก คือ  1 (mono),  2 (di), 3 (tri), 4 (treta),  5 (penta),  6 (hexa), 7 (hepta), 8 (octa), 9 (nona),10 (deca) ยกเว้นธาตุแรกมี 1 อะตอมไม่ต้องบอก เช่น
SO2         อ่านว่า  Sulfur dioxide
SO3         อ่านว่า  Sulfur trioxide
CO          อ่านว่า  Cabon monoxide
CO2        อ่านว่า  Cabon dioxide
PO5     อ่านว่า  Diphosphorus pentaoxide
  1. สารประกอบที่มีไอออนบวก กับไอออนลบที่ไม่ใช่อะตอมเดี่ยว แต่เป็นไอออนที่ประกอบด้วยหมู่อะตอม เช่น Sulphateion SO42- มี S เป็นอะตอมกลาง ตามข้อตกลงให้ถือว่าไอออนที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นไอออนเชิงซ้อน เรียกชื่อแบบเดียวกับสารเชิงซ้อน แต่อนุโลมให้ใช้ชื่อสามัญ ถ้ามีธาตุอื่นมารวมตัวกับไอออนนี้ ก็เรียกธาตุนั้นนำหน้า เช่น
ไอออน
ชื่อตามระบบ IUPAC
ชื่อสามัญ
SO42-Tetraoxosulphate ionSulphate ion
NO3Trioxide nitrate(V) ionNitrate ion
Na2SO4Sodium tetraoxidesulphateSodium sulphate
NaNO3Sodium trioxonitrateSodium nitrate
  1. สารประกอบที่ไอออนบวกมีค่าเลขออกซิเดชันหลายค่า การเรียกชื่อสารประกอบต้องระบุเลขออกซิเดชันด้วย โดยเขียนเลขโรมันไว้หลังชื่อธาตุนั้น เช่น
FeCl2                     อ่านได้ว่า               Iron (II) chloride
MnO2                     อ่านได้ว่า               Manganese (IV) oxide
สารประกอบเชิงซ้อน
         สารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อน มักจะมีโลหะสองชนิด ซึ่งในสารประกอบนั้นจะมีไอออน 2 ชนิดคือ ไอออนบวก (+) และไอออนลบ (-) และไอออนที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปนี้เรียกว่า ไอออนเชิงซ้อนอาจเป็นไอออนบวกหรือไอออนลบก็ได้ พวกไอออนเชิงซ้อนจะมีธาตุแทรนซิชันเป็นอะตอมกลาง และมีไอออน อะตอม หรือโมเลกุลอื่น มาล้อมรอบ โดยเรียกสิ่งที่ล้อมรอบว่า ลิแกนด์ ส่วนมากแล้วลิแกนด์จะยึดเหนี่ยวกับธาตุแทรนซิชันด้วยพันธะโคเวเลนต์ หรือโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์  หลักการอ่านชื่อสารประกอบเชิงซ้อนมีดังนี้
  1. ถ้าไอออนเชิงซ้อนเป็นไอออนบวก ให้อ่านลิแกนด์นำหน้า แล้วตามด้วยเลขอะตอมกลาง โดยบอกเลขออกซิเดชันด้วย จากนั้นอ่านไอออนลบ
  2. ถ้าไอออนเชิงซ้อนเป็นลบ อ่านลิแกนด์นำหน้า จากนั้น อ่านอะตอมกลางลงท้ายด้วย – ate โดยบ่งบอกเลขออกซิเดชันของธาตุด้วย
ลิแกนด์บางตัวที่ควรทราบ
Cl–                           อ่านว่า                    Chloro
Br                          อ่านว่า                    Bromo
I                             อ่านว่า                    Iodo
CO32-                            อ่านว่า                    Carbonate
H2O                        อ่านว่า                    Aqua
CN                         อ่านว่า                    Cyano
NO2                       อ่านว่า                    Nitro
NH3                        อ่านว่า                    Ammine
ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบเชิงซ้อน
Na[FeF6]                             อ่านว่า                    Sodiumhexafluoroferrate (III)
[ K3Fe(CN)6 ]                     อ่านว่า                    Potassiumhexacyanoferrate (III)
[ ( Cu(H2O)4) SO4 ]          อ่านว่า                    Tetraaquacopper (II) sulphate
[ ( Zn(NH3)4 ]2+               อ่านว่า                    Tetraamminezinc (II ) ion
[ ( Ni(CN)4 ]2 –                 อ่านว่า                    Tetracyanonickelate (II) ion

658729g1em44wifu

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ภาพจาก :  https://s 3. amazonaws.com/user-media.venngage.com/ 314475- f 1139 cb 852 be 185 b 9 be 2 cdffe 4487 a 51. jpg     ปกติแล้วร...