วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

1. ประเภทของสารเคมี
    สารเคมีแต่ละประเภทมีสมบัติเเตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีฉลากโดยฉลากควีมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิดภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์
3. คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิดสารเคมี
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบจะกล่าวถึง 2 ระบบ คือ GHS และ NFPA

ระบบ GHS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหรี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่างๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟ สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 และช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์



2. ข้อควรปฏิบัติ
1. ก่อนจะทำการทดลองควรถามตัวเองว่าจะเกิดอันตรายหรือไม่ ถ้าสงสัยให้ถามผู้ควบคุมปฏิบัติการ
2. ต้องไม่ทำการทดลองใดๆ นอกเหนือไปจากการทดลองที่กำหนดไว้ในบททดลอง และไม่ควรทำการ ทดลองคนเดียวในห้องปฏิบัติการ
3. จัดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทดลองวางไว้บนโต๊ะปฏิบัติการให้ครบก่อนลงมือทำการ ทดลอง
4. ควรสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ทำปฏิบัติการเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็น เข้าตา
5. ควรสวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้งที่เข้าทำการปฏิบัติการ
6. อย่าปล่อยผมรุงรัง สวมเสื้อผ้าหลวมรุงรัง และเดินเท้าเปล่าหรือสวมรองเท้าแตะในห้องปฏิบัติการ
7. รู้ตำแหน่งที่เก็บอุปกรณ์สำหรับใช้ในเวลาฉุกเฉิน เช่น เครื่องดับเพลิง ชุดปฐมพยาบาล
8. รักษาความสะอาดโต๊ะและห้องปฏิบัติการ
9. ปฏิบัติตามระเบียบในห้องปฏิบัติการ
10. อย่าชิมสารต่างๆ ในห้องทดลอง
11. อย่าดมกลิ่นสารต่างๆด้วยการเอามาจ่อที่จมูก แต่ให้ถือหลอดทดลองที่มีสารเคมีนั้นไว้ ห่างๆแล้วใช้มือโบกกลิ่นของสารนั้นให้เข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
12. ใช้สารเคมีด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะกรดและเบสที่เข้มข้น
13. อย่าต้มของเหลวในหลอดทดลองขนาดเล็กด้วยเปลวไฟโดยตรง
14. การทดลองใดๆที่เกี่ยวกับแก๊สพิษต้องทำการทดลองในตู้ควัน
15. ถ้าผิวหนังถูกกับกรดหรือเบสเข้มข้นให้รีบล้างด้วยน้ำจำนวนมากๆทันที และแจ้งให้อาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการทราบ

16. ถ้าเสื้อผ้าที่สวมใส่เกิดติดไฟขึ้น ให้พยายามดับไฟโดยการนอนกลิ้งลงบนพื้น
17. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ


3. การกำจัดสารเคมี
1. สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้นั้นมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆได้
2. สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำถ้ามีปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน
3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดแลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ภาพจาก :  https://s 3. amazonaws.com/user-media.venngage.com/ 314475- f 1139 cb 852 be 185 b 9 be 2 cdffe 4487 a 51. jpg     ปกติแล้วร...