หน่วยและการวัด
การกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นหน่วยกลางทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ ( International System of Units หรือ System - International d' Unites ) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า "SI" หรือหน่วยเอสไอ ( SI unit ) เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือเอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน หน่วยเสริม หน่วยอนุพัทธ์ และคำอุปสรรค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. หน่วยฐาน (Base Units) เป็นหน่วยหลักของเอสไอ ทั้งหมด 7 หน่วย ดังตาราง
ตารางชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยฐาน
ปริมาณ
|
ชื่อหน่วย
|
สัญลักษณ์
|
ความยาว (Length)
มวล (Mass)
เวลา (Time)
กระแสไฟฟ้า (Electric current)
อุณหภูมิอุณหพลวัติ
(Thermodynamic temperature)
ปริมาณของสาร (Amount of Substance)
ความเข้มของการส่องสว่าง
(Luminous intensity)
|
เมตร
กิโลกรัม
วินาที
แอมแปร์
เคลวิน
โมล
แคนเดลา
|
m
kg
s
A
K
mol
cd
|
2. หน่วยเสริม (Suppilmentary Units)
หน่วยเสริมของระบบ SI มี 2 หน่วย คือ
1. เรเดียน (Radian : rad) เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบ
กำหนดให้
r คือ รัศมีของวงกลม
q คือ มุมในระนาบที่จุดศูนย์กลางของวงกลม s คือ ความยาวส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับในระนาบ q
โดย q มีหน่วยเป็นเรเดียน ( rad )
มุม 1 เรเดียน คือ มุม q ที่รองรับความยาวโค้ง s ที่มีความยาวเท่ากับรัศมีของวงกลม
2. สตีเรเดียน (Steradian : sr) เป็นหน่วยวัดมุมตัน
กำหนดให้
P คือ จุดศูนย์กลางของทรงกลม
R คือ รัศมีของทรงกลม
q คือ มุมตัน มีรูปร่างเป็นวงกลมที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม
A คือ พื้นที่ผิวของทรงกลมที่รองรับมุมตัน q
มุม 1 สตีเรเดียน คือ มุม q ที่รองรับพื้นที่ผิวของทรงกลม A ที่มีขนาดเท่ากับขนาดของรัศมีของทรงกลมกำลังสอง
3. หน่วยอนุพันธ์ (Derived Units)
เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที ซึ่งมีเมตรและวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วยและบางหน่วยก็ใช้ชื่อและสัญลักษณ์เป็นพิเศษ เช่น
ความเร็ว มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที ( m/s )
แรง มีหน่วยเป็น กิโลกรัม เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ( kg.m/s2 ) หรือนิวตัน ( N )
กำลัง มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที( J/s ) หรือ วัตต์ ( w )
ตัวพหุคูณและคำอุปสรรค
ตัวพหุคูณ คือ 10n เป็นการเขียนเพื่อลดรูปปริมาณที่ใหญ่มากๆ หรือเล็กมากๆ เช่น
40000000000 m = 4 x 1010 m
0.04 m = 4/100 = 4 x 10-2 m
คำอุปสรรค คือ สัญลักษณ์แทนค่าตัวพหุคูณบางค่า เช่น
k ( กิโล ) = 103
m ( ไมโคร ) = 10-6
ตาราง ตัวพหุคูณ และคำอุปสรรค
ตัวพหุคูณ
|
คำอุปสรรค
|
สัญลักษณ์
|
1012
109 10610310210110-110-210-310-610-910-12 |
เทระ ( tera )
จิกะ ( giga )เมกะ ( mega )กิโล ( kilo )เฮกโต ( hecto ) เดคา ( deca )เดซิ ( deci )เซนติ ( cente )มิลลิ ( milli )ไมโคร( micro )นาโน ( nano )พิโก ( pico ) |
T
GMKhdadcmmnp |
การใช้ประโยชน์จากตาราง หน่วยต่างๆที่อยู่ในตารางคือหน่วยที่ควรจำได้ นอกเหนือจากนั้นควรหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้หน่วยที่มีอยู่ในตารางหาค่าความสัมพันธ์
จึงจะทำให้ตารางนี้
วัดความยาวระบบเมตริก
|
วัดความยาวระบบอังกฤษ
|
วัดความยาวในมาตราไทย
|
1 ซม. = 10 มิลลิเมตร 1 เมตร = 100 ซม. 1 กม. = 1,000 เมตร | 1 ฟุต = 12 นิ้ว 3 ฟุต = 1 หลา 1 ไมล์ = 1,760 หลา | 12 นิ้ว = 1 คืบ 2 คืบ = 1 ศอก 4 ศอก = 1 วา 20 วา = 1 เส้น 400 เส้น = 1 โยชน์ |
กำหนดเทียบ 1 นิ้ว = 2 .54 ซม. (ค่าประมาณ) 1 ไมล์ = 1.6093 กิโลเมตร, 1 วา = 2 เมตร 1 เฮกตาร์ = 10,000 ตารางเมตร | ||
มาตราไทย 1 ไร่ = 4 งาน, 1 งาน = 100 ตารางวา, 1 เอเคอร์ = 2 .529 ไร่(ค่าประมาณ) 1 ถัง = 20 ลิตร = 15 กก., 1 เกวียน = 100 ถัง, 1 กระสอบ = 100 กิโลกรัม | ||
หน่วยวัดปริมาตรระบบเมตริกที่ควรรู้ 1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร, 1 มิลลิลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร | ||
หน่วยวัดปริมาตรในระบบอังกฤษที่ควรรู้ 3 ช้อนชา = 1 ช้อนโต๊ะ, 16 ช้อนโต๊ะ = 1 ถ้วยตวง 1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์ เทียบ 1 ช้อนชา = 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร | ||
หน่วยวัดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม = 1,000 กรัม, 1 กรัม = 1,000 มิลลิกรัม, 1 ตัน = 1,000 กิโลกรัม หน่วยเทียบเมตริกกับระบบอังกฤษ 1 ปอนด์ = 0.4536 กิโลกรัม | ||
หน่วยเวลา 1 วัน = 24 ชม. , 1 ชม. = 60 นาที, 1 นาที = 60 วินาที, 1 ปี = 365 วัน หรือ 366 วัน, 1 ทศวรรษ = 10 ปี, 1 มิลเลเนียม = 1,000 ปี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น