วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

1.5วิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอนโดยภาพรวมสามารถทำได้ดังนี้ 
1. การสังเกต เป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูล
2.การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา
3.การตรวจสอบสมมติฐาน เป็นกระบวนการหาคำตอบของสมมติฐาน
4.การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
5.การสรุปผล เป็นการสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐาน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คนทดลอง การ์ตูน

1.4หน่วยวัด

หน่วยและการวัด
การกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นหน่วยกลางทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ ( International System of Units หรือ  System - International  d' Unites ) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า  "SI" หรือหน่วยเอสไอ (  SI  unit )  เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบหน่วยระหว่างชาติ หรือเอสไอ ประกอบด้วย หน่วยฐาน หน่วยเสริม หน่วยอนุพัทธ์  และคำอุปสรรค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. หน่วยฐาน (Base Units) เป็นหน่วยหลักของเอสไอ ทั้งหมด หน่วย ดังตาราง
ตารางชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยฐาน
ปริมาณ
ชื่อหน่วย
สัญลักษณ์
ความยาว (Length)
มวล (Mass)
เวลา (Time)
กระแสไฟฟ้า (Electric current)
อุณหภูมิอุณหพลวัติ
(Thermodynamic temperature)
ปริมาณของสาร (Amount of Substance)
ความเข้มของการส่องสว่าง
(Luminous  intensity)
เมตร
กิโลกรัม
วินาที
แอมแปร์
เคลวิน

โมล

แคนเดลา
m
kg
s
A
K

mol

cd
2. หน่วยเสริม (Suppilmentary Units)
หน่วยเสริมของระบบ SI  มี หน่วย คือ
1. เรเดียน (Radian  : rad)   เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบ
                                                            กำหนดให้
                                                  r   คือ รัศมีของวงกลม
            
                      q  คือ มุมในระนาบที่จุดศูนย์กลางของวงกลม                     s  คือ ความยาวส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับในระนาบ q

                       โดย  q  มีหน่วยเป็นเรเดียน ( rad )
                    มุม เรเดียน คือ มุม q  ที่รองรับความยาวโค้ง  s  ที่มีความยาวเท่ากับรัศมีของวงกลม

2. สตีเรเดียน (Steradian : sr) เป็นหน่วยวัดมุมตัน
                                      กำหนดให้
              P   คือ  จุดศูนย์กลางของทรงกลม
              R   คือ  รัศมีของทรงกลม
              q   คือ มุมตัน มีรูปร่างเป็นวงกลมที่จุดศูนย์กลางของทรงกลม
              A   คือ พื้นที่ผิวของทรงกลมที่รองรับมุมตัน q
                                         โดย  q   มีหน่วยเป็นสตีเรเดียน  (sr)
                                                            มุม สตีเรเดียน คือ มุม ที่รองรับพื้นที่ผิวของทรงกลม A ที่มีขนาดเท่ากับขนาดของรัศมีของทรงกลมกำลังสอง
3. หน่วยอนุพันธ์ (Derived Units)
เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที ซึ่งมีเมตรและวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วยและบางหน่วยก็ใช้ชื่อและสัญลักษณ์เป็นพิเศษ เช่น     
                   ความเร็ว          มีหน่วยเป็น       เมตรต่อวินาที    ( m/s  )
                   แรง               มีหน่วยเป็น       กิโลกรัม เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ( kg.m/s2 )  หรือนิวตัน ( N )
                   กำลัง             มีหน่วยเป็น       จูลต่อวินาที( J/s ) หรือ วัตต์ ( w )

ตัวพหุคูณและคำอุปสรรค
ตัวพหุคูณ คือ 10n เป็นการเขียนเพื่อลดรูปปริมาณที่ใหญ่มากๆ หรือเล็กมากๆ  เช่น
40000000000           m  = 4 x 1010    m
0.04                                     m =  4/100  =  4 x 10-2  m

คำอุปสรรค คือ สัญลักษณ์แทนค่าตัวพหุคูณบางค่า เช่น
k ( กิโล )         = 103
                    m ( ไมโคร )      = 10-6
ตาราง ตัวพหุคูณ และคำอุปสรรค

ตัวพหุคูณ
คำอุปสรรค
สัญลักษณ์
1012
109
10610310210110-110-210-310-610-910-12
เทระ ( tera )
จิกะ ( giga )เมกะ ( mega )กิโล ( kilo )เฮกโต ( hecto  ) เดคา ( deca )เดซิ ( deci )เซนติ ( cente )มิลลิ ( milli )ไมโคร( micro )นาโน ( nano )พิโก ( pico )
T
GMKhdadcmmnp


            การใช้ประโยชน์จากตาราง หน่วยต่างๆที่อยู่ในตารางคือหน่วยที่ควรจำได้ นอกเหนือจากนั้นควรหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้หน่วยที่มีอยู่ในตารางหาค่าความสัมพันธ์ 
จึงจะทำให้ตารางนี้
วัดความยาวระบบเมตริก
วัดความยาวระบบอังกฤษ
วัดความยาวในมาตราไทย
1 ซม.             = 10           มิลลิเมตร
1 เมตร  100 ซม.     
1 กม.   1,000         เมตร
            1 ฟุต              12  นิ้ว
            3 ฟุต =    1   หลา
           1 ไมล์ =    1,760 หลา
        12 นิ้ว      =    1   คืบ
         2   คืบ     =    1    ศอก
        4   ศอก    =    1    วา
        20 วา       =    1    เส้น
        400 เส้น   =    1    โยชน์
กำหนดเทียบ                 1 นิ้ว     =      2 .54  ซม.     (ค่าประมาณ)
      1 ไมล์   =     1.6093   กิโลเมตร,       1 วา      =     2       เมตร
      1 เฮกตาร์ 10,000 ตารางเมตร
มาตราไทย            1 ไร่      =      4      งาน, 1   งาน  100  ตารางวา, 1 เอเคอร์ 2 .529 ไร่(ค่าประมาณ)
1 ถัง  20   ลิตร  =    15 กก.,      1 เกวียน  100    ถัง,       1 กระสอบ 100    กิโลกรัม
หน่วยวัดปริมาตรระบบเมตริกที่ควรรู้  1 ลิตร 1,000 มิลลิลิตร, 1 มิลลิลิตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หน่วยวัดปริมาตรในระบบอังกฤษที่ควรรู้  3 ช้อนชา 1 ช้อนโต๊ะ,       16 ช้อนโต๊ะ 1 ถ้วยตวง
                                                    1 ถ้วยตวง 8 ออนซ์       เทียบ 1 ช้อนชา 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หน่วยวัดน้ำหนัก       1 กิโลกรัม 1,000 กรัม, 1 กรัม 1,000 มิลลิกรัม, 1 ตัน 1,000 กิโลกรัม
                                 หน่วยเทียบเมตริกกับระบบอังกฤษ  1 ปอนด์ 0.4536 กิโลกรัม
หน่วยเวลา   1 วัน 24 ชม. , 1 ชม. 60 นาที, 1 นาที 60 วินาที, 1 ปี 365 วัน หรือ 366 วัน,
                     1 ทศวรรษ 10 ปี, 1 มิลเลเนียม 1,000 ปี

1.3การวัดปริมาณสาร

      ในปฏิบัติการเคมีจำเป็นต้องมีการชั่ง ตวง และวัดปริมาณสาร ซึ่งการชั่ง ตวง วัด มีความคลาดเคลื่อน

ที่อาจเกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้ หรือผู้ทำปฏิบัติการ ที่จะส่งผลให้ผลการทดลองที่ได้มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าค่าจริง
     ความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถพิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยง (precision)
และ ความแม่น (accuracy) ของข้อมูล โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกันของ ค่าที่ได้จากการวัดซ้ำ ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง
     1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร
     อุปกรณ์วัดปริมาตรสารเคมีท่เีป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตรที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐาน และกำหนดความคลาดเคลื่อน
ที่ยอมรับได้ บางชนิดมีความคลาดเคลื่อนน้อย บางชนิด มีความคลาดเคลื่อนมาก ในการเลือกใช้ต้อง
คำนึงถึงความเหมาะสมกับปริมาตรและ ระดับความแม่นที่ต้องการ อุปกรณ์วัดปริมาตรบางชนิดที่นักเรียน
ได้ใช้งานในการทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมา เช่น บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง เป็น
อุปกรณ์ที่ไม่สามารถบอกปริมาตรได้แม่นมากพอสำหรับการทดลองในบางปฏิบัติการ
          บีกเกอร์
     บีกเกอร์(beaker) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากกว้าง มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
          ขวดรูปกรวย
     ขวดรูปกรวย (erlenmeyer flask) มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
          กระบอกตวง
กระบอกตวง (measuring cylinder) มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด
     นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่สามารถวัดปริมาตรของของเหลวได้แม้นมากกว่าอุปกรณ์ข้างต้น โดย
มีทั้งที่เป์นการวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ภายใน และการวัดปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเท เช่น ปิเปตต์ บิวเรตต์ ขวดกำหนดปริมาตร
          ปิเปตต์
     ปิเปตต์ (pipette) ป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นสูง ซึ่งใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว ปิเปตต์ที่ใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบปริมาตรซึ่งมีกระเปาะตรงกลาง มีขีดบอกปริมาตรเพียงค่าเดียว และแบบใช้ตวง มีขีดบอกปริมาตรหลายค่า
          บิวเรตต์
     บิวเรตต์ (burette) เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่าง ๆ ตามต้องการ มีลักษณะ
เป็นทรงกระบอกยาวที่มีขีดบอกปริมาตร และมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก็อก
ปิดเปิด (stop cock)

          ขวดกำหนดปริมาตร
     ขวดกำหนดปริมาตร (volumetric flask) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุ
ภายใน ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอน มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว
มีจุกปิดสนิท ขวดกำหนดปริมาตรมีหลายขนาด

     การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือจะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลวให้ถูกวิธี โดยต้องให้สายตาอยู่ระดับเดียวกันกับระดับส่วนโค้งของของเหลว โดยถ้าส่วนโค้งของของเหลวมีลักษณะเว้า ให้อ่านปริมาตรที่จุดต่ำสุดของส่วนโค้งนั้น แต่ถ้าส่วนโค้งของของเหลวมีลักษณะนูน ให้อ่านปริมาตรที่จุดสูงสุดของส่วนโค้งนั้น การอ่านค่าปริมาตรของของเหลวให้อ่านตามขีดบอกปริมาตรและประมาณค่าทศนิยมตำแหน่งสุดท้าย
     1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
     เครื่องชั่ง เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดมวลของสารทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ความน่าเชื่อถือ
ของค่ามวลที่วัดได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง เครื่องชั่งที่ใช้ในห้อง
ปฏิบัติการเคมีโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ เครื่องชั่งแบบสามคาน (triple beam) และเครื่องชั่งไฟฟ้า (electronic balance) ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก
     1.3.3 เลขนัยสำคัญ
     ค่าที่ได้จากการวัดดาวยอุปกรณ์การวัดต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวเลขและหน่วย โดยค่าตัวเลขที่วัดได้จากอุปกรณ์แต่ละชนิดอาจมีความละเอียดไม่เท่ากัน ซึ่งการบันทึกและรายงานค่าการอ่านต้อง
แสดงจำนวนหลักของตัวเลขที่สอดคล้องกับความละเอียดของอุปกรณ์
     การนับเลขนัยสำคัญ
การนับเลขนัยสำคัญของข้อมูลมีหลักการ ดังนี้
     1. ตัวเลขที่ไม่มีเลขศูนย์ทั้งหมดนับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น1.23 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
     2. เลขศูนย์ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่น นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น6.02 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว 72.05 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
     3. เลขศูนย์ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่น ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น0.25 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว 0.025 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
     4. เลขศูนย์ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่อยู่หลังทศนิยม นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น 0.250 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว 0.0250 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
     5. เลขศูนย์ที่อยู่หลังเลขอื่นที่ไม่มีทศนิยม อาจนับหรือไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญก็ได้ 1 เช่น100 อาจมีเลขนัยสำคัญเป็น 1 2 หรือ 3 ตัวก็ได้เนื่องจากเลขศูนย์ในบางกรณีอาจมีค่าเป็นศูนย์จริง ๆ จากการวัด หรือเป็นตัวเลขที่ใช้แสดงให้เห็นว่าค่าดังกล่าวอยู่ในหลักร้อย
     6. ตัวเลขที่แม่นตรง (exact number) เป็นตัวเลขที่ทราบค่าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์ เช่น ค่าคงที่ เช่น π = 3.142…  มีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์ค่าจากการนับ เช่น ปิเปตต์ 3 ครั้ง เลข 3 ถือว่ามีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์ค่าจากการเทียบหน่วย เช่น 1 วัน มี 24 ชั่วโมง ทั้งเลข 1 และ 24 ถือว่ามีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
     7. ข้อมูลที่มีค่าน้อย ๆ หรือมาก ๆ ให้เขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์2 โดยตัวเลขสัมประสิทธิ์
ทุกตัวนับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
6.02 × 10²³ มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
1.660 × 10-²⁴ มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
ค่าตัวเลข 100 ในตัวอย่างข้อ 5 สามารถเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ แล้วแสดงเลขนัย สำคัญได้อย่างชัดเจน เช่น
1 × 10² มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
1.0 × 10² มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
1.00 × 10² มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
     การนำค่าตัวเลขที่ได้จากการวัดมาคำนวณจะต้องคำนึงถึงเลขนัยสำคัญของผลลัพธ์ โดยการ
คำนวณส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวเลขที่ได้จากอุปกรณ์ที่แตกต่างกันทั้งหน่วยและความละเอียด ดังนั้น
ต้องมีการตัดตัวเลขในผลลัพธ์ด้วยการปัดเศษ ดังต่อไปนี้
     การปัดตัวเลข
การปัดตัวเลข (rounding the number) พิจารณาจากตัวเลขที่อยู่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการ
ดังนี้
     1. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค้าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่อยู่ถัดไปทั้งหมด เช่น
5.7432 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 5.7 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 5.74
     2. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้าย ที่ต้องการอีก 1 เช่น 3.7892 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 3.8 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 3.79
     3. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ 0 ต่อจากเลข5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1 เช่น 2.1652 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 3 ตัว ปัดเป็น 2.17 กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมี 0 ต่อจากเลข 5 ให้พิจารณาโดย
ใช้หลักการในข้อ 4
    4. กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 ดังนี้
          4.1 หากตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มอีก 1 แล้วตัดตัวเลข ตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด เช่น 0.635 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.64
          4.2 หากตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขเดิม แล้วตัดตัวเลข  ตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด เช่น 0.645 ถ้าต้องการเลขนัยสำคัญ 2 ตัว ปัดเป็น 0.64
สำหรับการคำนวณหลายขั้นตอน การปัดตัวเลขของผลลัพธ์ให้ทำในขั้นตอนสุดท้ายของการคำนวณ
     การบวกและการลบ
     ในการบวกและลบ ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด
     การคูณและการหาร
     ในการคูณและการหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด

1.2อุบัติเหตุจากสารเคมี


อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ในห้องทดลอง หากผู้ทดลองทำด้วยความประมาทเลินเล่อหรือขาดความระมัดระวังขาดความเอาใจใส่ในเรื่องที่ทำการทดลอง ทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุก็คือผู้ทำการทดลองจะต้องอ่านข้อควรปฏิบัติในห้องทดลองเสียก่อน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การเกิดอุบัติเหตุในห้องทดลองนั้นมีได้หลายกรณี จะขอแยกกล่าวเป็นข้อ ๆ พร้อมทั้งวิธีแก้ไขดังนี้
1. ไฟไหม้ เนื่องจากการปฏิบัติการทางเคมีในห้องปฏิบัติการนั้นบางครั้งจะต้องใช้ ตะเกียงก๊าซด้วยการใช้ตะเกียงก๊าซนั้นหากเปลวไฟอยู่ใกล้กับสารที่ติดไฟง่ายหรือสารที่มีจุดวาบไฟต่ำ โอกาสที่จะเกิดไฟก็ยิ่งมากขึ้นด้วยจึงต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังและไม่ให้สารที่ติดไฟง่ายอยู่ใกล้ไฟ
 วิธีแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ สิ่งแรกที่ควรทำก็คือต้องรีบดับตะเกียงในห้องปฏิบัติการให้หมดแล้วนำสารที่ติดไฟง่ายออกจากห้องปฏิบัติการให้ห่างที่สุดเพื่อไม่ให้สารเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงได้ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้เล็กน้อย เช่น เกิดในบีกเกอร์หรือภาชนะแก้วอื่น ๆ ที่ใช้ในการทดลอง จะดับไฟที่เกิดนี้ได้โดยใช้ผ้าขนหนูที่เปียกคลุม แต่ถ้าหากไฟลุกลามออกไปบนโต๊ะปฏิบัติการหรือเกิดในบริเวณกว้าง จะต้องใช้เครื่องดับเพลิงเข้าช่วยทันที
2. แก้วบาด เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์จำพวกเครื่องแก้ว ซึ่งแตกได้ง่าย ถ้าอุปกรณ์เหล่านี้แตกผู้ทดลองอาจถูกแก้วบาดได้ การเสียบหลอดแก้วหรือเทอร์โมมิเตอร์ลงในจุกยาง ถ้าหลอดแก้วหักอาจจะทิ่มแทงมือได้เช่นเดียวกัน จึงเห็นได้ว่าอันตรายที่เกิดจากแก้วบาดนั้นมีได้มาก ผู้ทดลองจะต้องระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์พวกแก้วแตกหรือหัก หากพบควรรีบเก็บกวาดโดยเร็วเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น
 วิธีแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุแก้วบาดก็คือ ต้องทำการห้ามเลือดโดยเร็ว โดยใช้นิ้วมือหรือผ้าที่ สะอาดกดลงบนแผลถ้าเลือดยังออกมากให้ยกส่วนที่เลือดออกสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แล้วห้ามเลือดโดยใช้ผ้าหรือเชือกรัดระหว่างแผลกับหัวใจแต่ต้องคลายออกเป็นครั้งคราว จนเลือดหยุดไหล แล้วทำความสะอาดแผลด้วยแอลกอฮอล์ ใส่ยา ปิดแผล ถ้าหากแผลใหญ่และลึกควรรีบไปหาแพทย์ทันที
3. สารเคมีถูกผิวหนัง เราทราบแล้วว่า สารเคมีทุกชนิดมีอันตรายแต่มากน้อยแตกต่างกัน บางชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อนต่อสิ่งของและเนื้อเยื่อเป็นอันตรายต่อผิวหนัง บางชนิดให้ไอระเหยเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ บางชนิดไวไฟเป็นพิษหรือระเบิดได้ บางชนิดสามารถซึมผ่านเข้าไปใน ผิวหนังทำให้เกิดอันตรายได้มากมาย ด้วยเหตุนี้ผู้ทดลองจึงไม่ควรให้สารเคมีถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้า
ถ้าทราบว่าถูกสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามจะต้องรีบล้างบริเวณนั้น ด้วยน้ำมาก ๆ ทันทีเพื่อไม่ให้สารเคมีมีโอกาสทำลายเซลล์ผิวหนังหรือซึมเข้าไปในผิวหนังได้
4. สารเคมีเข้าตาณะทำการทดลองหากก้มหรือมองใกล้เกินไป อาจทำให้ไอของสาร เข้าตาหรือสารกระเด็นถูกตาได้
วิธีแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีเข้าตาก็คือ จะต้องล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ทันที พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำนาน ๆ ถ้าสารเคมีที่เป็นด่างเข้าตา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ แอมโมเนีย ฯลฯ จะเป็นอันตรายต่อตามากกว่ากรด จะต้องรีบล้างตาด้วยสารละลายกรดโบริกที่เจือจาง ในกรณีที่กรดเข้าตาให้ล้างด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนตที่เจือจาง
5. การสูดไอหรือก๊าซพิษ เมื่อสูดไอของสารเคมีหรือก๊าซพิษ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการ ทดลองหรือสารที่ใช้ในการทดลองก็ตาม ปกติจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น วิงเวียน คลื่นไส้ หายใจขัด ปวดศีรษะ ฯลฯ ซึ่งแล้วแต่พิษของสารเคมีนั้น ๆ หากไอนั้นกัดเนื้อเยื่อก็จะทำให้ระคายต่อระบบหายใจด้วย
วิธีแก้ไขก็คือ เมื่อทราบว่าสูดดมไอของสารเคมี จะต้องรีบออกไปจากที่นั้นและไปอยู่ในที่ที่ มีอากาศบริสุทธิ์ หากพบว่ามีผู้หายใจเอาก๊าซพิษเข้าไปมากจนหมดสติหรือช่วยตัวเองไม่ได้ จะต้องรีบนำออกมาที่นั้นทันที ซึ่งผู้เข้าไปช่วยต้องใส่หน้ากากป้องกันก๊าซพิษหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
6. การกลืนกินสารเคมี เนื่องจากอุปกรณ์บางอย่างผู้ทดลองใช้ปากดูด สารเคมีอาจพึ่ง เข้าปากได้ หากสารเคมีนั้นเป็นสารพิษก็ย่อมจะเกิดอันตรายต่อผู้ทดลอง
วิธีแก้ไขเมื่อกลืนกินสารเคมีเข้าไปก็คือ จะต้องรีบล้างปากให้สะอาดเป็นอันดับแรก และ ต้องสืบให้รู้ว่ากลืนสารอะไรลงไป ต่อจากนั้นก็ให้ดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ เพื่อทำให้พิษเจือจาง แล้วทำให้อาเจียนโดยใช้นิ้วกดโคนลิ้นหรือกรอกไข่ขาวปล่อยให้อาเจียนจนกว่าจะมีน้ำใส ๆ ออกมา

1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

1. ประเภทของสารเคมี
    สารเคมีแต่ละประเภทมีสมบัติเเตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีฉลากโดยฉลากควีมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิดภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์
3. คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิดสารเคมี
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบจะกล่าวถึง 2 ระบบ คือ GHS และ NFPA

ระบบ GHS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหรี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่างๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟ สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 และช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์



2. ข้อควรปฏิบัติ
1. ก่อนจะทำการทดลองควรถามตัวเองว่าจะเกิดอันตรายหรือไม่ ถ้าสงสัยให้ถามผู้ควบคุมปฏิบัติการ
2. ต้องไม่ทำการทดลองใดๆ นอกเหนือไปจากการทดลองที่กำหนดไว้ในบททดลอง และไม่ควรทำการ ทดลองคนเดียวในห้องปฏิบัติการ
3. จัดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทดลองวางไว้บนโต๊ะปฏิบัติการให้ครบก่อนลงมือทำการ ทดลอง
4. ควรสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ทำปฏิบัติการเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็น เข้าตา
5. ควรสวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้งที่เข้าทำการปฏิบัติการ
6. อย่าปล่อยผมรุงรัง สวมเสื้อผ้าหลวมรุงรัง และเดินเท้าเปล่าหรือสวมรองเท้าแตะในห้องปฏิบัติการ
7. รู้ตำแหน่งที่เก็บอุปกรณ์สำหรับใช้ในเวลาฉุกเฉิน เช่น เครื่องดับเพลิง ชุดปฐมพยาบาล
8. รักษาความสะอาดโต๊ะและห้องปฏิบัติการ
9. ปฏิบัติตามระเบียบในห้องปฏิบัติการ
10. อย่าชิมสารต่างๆ ในห้องทดลอง
11. อย่าดมกลิ่นสารต่างๆด้วยการเอามาจ่อที่จมูก แต่ให้ถือหลอดทดลองที่มีสารเคมีนั้นไว้ ห่างๆแล้วใช้มือโบกกลิ่นของสารนั้นให้เข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
12. ใช้สารเคมีด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะกรดและเบสที่เข้มข้น
13. อย่าต้มของเหลวในหลอดทดลองขนาดเล็กด้วยเปลวไฟโดยตรง
14. การทดลองใดๆที่เกี่ยวกับแก๊สพิษต้องทำการทดลองในตู้ควัน
15. ถ้าผิวหนังถูกกับกรดหรือเบสเข้มข้นให้รีบล้างด้วยน้ำจำนวนมากๆทันที และแจ้งให้อาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการทราบ

16. ถ้าเสื้อผ้าที่สวมใส่เกิดติดไฟขึ้น ให้พยายามดับไฟโดยการนอนกลิ้งลงบนพื้น
17. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ


3. การกำจัดสารเคมี
1. สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้นั้นมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมากๆได้
2. สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทันที ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำถ้ามีปริมาณมากต้องทำให้เป็นกลางก่อน
3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมทั้งติดแลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

ภาพจาก :  https://s 3. amazonaws.com/user-media.venngage.com/ 314475- f 1139 cb 852 be 185 b 9 be 2 cdffe 4487 a 51. jpg     ปกติแล้วร...